วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สุภาษิตไทย

สุภาษิต หมวด
หมวด ก

กงกำกงเกวียน
เวรสนองเวร กรรมสนองกรรม

กระต่ายหมายจันทร์
หวังในสิ่งที่เกินตัว

กลมเป็นลูกมะนาว
หลบหลีกไปได้คล่องแคล่วจนจับไม่ติด ( มักใช้ในทางไม่ดี )

กำขี้ดีกว่ากำตด
ได้บ้างดีกว่าไม่ได้อะไรเลย

กำแพงมีหู ประตูมีตา
การที่จะพูดหรือทำอะไรให้ระมัดระวัง แม้จะเป็นความลับเพียงไรก็อาจมีคนล่วงรู้ได้

กิ่งทองใบหยก
เหมาะสมกัน ใช้แก่หญิงกับชายที่จะแต่งงานกัน

กิ้งก่าได้ทอง
ชอบโอ้อวดในสิ่งที่ตนมีเพื่อให้ผู้อื่นรู้ เพื่อให้ผู้อื่นสนใจตน

กินบนเรือนขี้บนหลังคา
เนรคุณ เป็นผู้ไม่รู้คุณของผู้อื่น

แกว่งตีนหาเสี้ยน
รนหาเรื่องเดือดร้อน

ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่
ต่างฝ่ายต่างรู้ความลับซึ่งกันและกัน


หมวด ข

ขมิ้นกับปูน
ชอบวิวาทกันอยู่เสมอเมื่ออยู่ใกล้กัน , ไม่ถูกกัน

ข้าวใหม่ปลามัน
อะไรที่เป็นของใหม่ก็ถือดี , นิยมเรียกช่วงที่สามีภรรยาเพิ่งแต่งงานกันใหม่ ๆ ว่า "ข้าวใหม่ปลามัน"

เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา
บอกหรือสอนแล้วไม่ได้ผล

เข็นครกขึ้นภูเขา
ทำงานที่ยากเกินความสามารถของตนเอง


หมวด ค

คมในฝัก
ลักษณะของผู้ฉลาด แต่นิ่งเงียบ ไม่แสดงความฉลาดนั้นออกมาโดยไม่จำเป็น มีความรู้ความสามารถ แต่เมื่อยังไม่ถึงเวลาก็ไม่แสดงออกมาให้ปรากฎ
ความวัวไม่ทันหายความควายเข้ามาแทรก
ความวุ่นวายเดือดร้อนอีกอย่างหนึ่งเกิดขึ้นมีไม่รู้จบสิ้นหรือผ่านพ้นไป ความวุ่นวาย เดือดร้อนอีกอย่างหนึ่งเกิดขึ้นมาอีก
คางคกขึ้นวอ
คนมีฐานะต่ำต้อย พอได้ดิบได้ดีก็มักแสดงกิริยา อวดดีจนลืมตัว


หมวด ง

งมเข็มในมหาสมุทร
ค้นสิ่งที่ยากจะค้นหาได้ ทำกิจที่สำเร็จได้ยากยิ่ง
งามแต่รูปจูบไม่หอม
มีรูปร่างงาม แต่มีความประพฤติและกิริยามารยาทไม่ดี


หมวด จ

จับปลาสองมือ
โลภมาก มักลาภหาย อยากได้หลายอย่างแต่ในที่สุดไม่ได้สักอย่างเดียว
จับเสือมือเปล่า
แสวงหาผลประโยชน์โดยตัวเองไม่ต้องลงทุน


หมวด ช

ชักใบให้เรือเสีย
พูดหรือทำขวางๆ ให้การสนทนาหรือการทำงานขวออกนอกเรื่องไป
ช้างตายทั้งตัวเอาใบบัวมาปิด
ความชั่ว หรือความผิดร้ายแรงที่คนทั่วไปรู้จักกันทั่วแล้ว จะปิดยังไงก็ปิดไม่มิด
ชิงสุกก่อนห่าม
ด่วนทำสิ่งที่ยังไม่สมควรแก่วัยหรือไม่ถึงเวลา

หมวด ซ

ซื้อควายหน้านา ซื้อผ้าหน้าตรุษ
ซื้อของไม่คำนึงถึงกาเวลา ของที่ถูกก็ต้อง ซื้อแพง, ทำอะไรไม่เหมาะกับกาลเวลา


หมวด ด

ดาบสองคม
มีทั้งคุณและโทษ , อาจดีอาจเสียก็ได้
ได้ทีขี่แพะไล่
ซ้ำเติมเมื่อผู้อื่นเพลี่ยงพล้ำลง


หมวด ต

ตักน้ำรดหัวตอ
แนะนำพร่ำสอนเท่าไหรก็ไม่ได้ผล
ตัดหางปล่อยวัด
ตัดขาดไม่เกี่ยวข้อง ไม่เอาเป็นธุระอีกต่อไป
ตำข้าวสารกรอกหม้อ
หาเพียงแต่พอกินไปมื้อหนึ่ง ๆ , ทำให้พอเสร็จไปชั่วครั้งหนึ่งๆ
ตีวัวกระทบคราด
โกรธคนหนึ่งแต่ทำอะไรเขาไม่ได้ไพล่ไปรังควาน


หมวด ถ

เถียงคำไม่ตกฟาก
พูดคำเถียงคำไม่หยุดปาก , เถียงโดยไม่ฟังเหตุผล


หมวด ท

ทำนาบนหลังคน
ทำกินโดยเอารัดเอาเปรียบผู้ที่ออกแรงทำงานนั้นๆ


หมวด น

น้ำขึ้นให้รีบตัก
มีโอกาสก็ควรรีบทำ
น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า
พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน

หมวด ป

ปลาใหญ่กินปลาเล็ก
ประเทศหรือคนที่มีอำนาจ หรือ ผู้ใหญ่ ที่กดขี่ข่มเหงผู้อ่อนแอหรือผู้น้อย
ปากปราศรัยใจเชือดคอ
พูดดีแต่ใจคิดร้าย
ปิดทองหลังพระ
ทำความดีแต่ไม่ได้รับการยกย่อง เพราะ ไม่มีใครเห็นคุณค่า


หมวด ผ

ผักชีโรยหน้า
การทำความดีเพียงผิวเผิน
ผ้าขี้ริ้วห่อทอง
คนมั่งมีแต่งตัวซอมซ่อ


หมวด ฝ

ฝนตกขี้หมูไหล
พลอยเหลวไหลไปด้วยกัน มักใช้เข้าคู่กับ คนจัญไรมาพบกัน
ฝนทั่งให้เป็นเข็ม
เพียรพยายาม สุดความสามารถจนกว่าจะสำเร็จผล


หมวด พ

พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง
พูดไปไม่มีประโยชน์ นิ่งเสียดีกว่า
แพะรับบาป
คนที่รับเคราะห์กรรมแทนผู้อื่นที่ทำกรรมนั้น


หมวด ฟ

ฟังหูซ้ายทะลุหูขวา
ฟังแล้วไม่รู้เรื่อง ฟังแล้วจำไม่ได้


หมวด ม

มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ
ไม่ช่วยแล้วยังขัดขวางการทำงานของผู้อื่น
ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก
อบรมสั่งสอนให้เด็กประพฤติดีได้ง่ายกว่า อบรมสั่งสอนผู้ใหญ่

หมวด ย

ยุให้รำตำให้รั่ว
ยุให้แตกกัน ยุให้ผิดใจกัน


หมวด ร

รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง
ทำไม่ดีหรือทำผิดแล้วไม่รับผิด กลับโทษผู้อื่น
รู้หลบเป็นปีกรู้หลีกเป็นหาง
รู้จักเอาตัวรอดหรือปรับตัวให้เข้ากับ เหตุการณ์ได้รวดเร็ว
เรือร่มในหนองทองจะไปไหน
คนในเครือญาติแต่งงานกัน ทำให้ทรัพย์สมบัติ ไม่ตกไปอยู่กับผู้อื่น


หมวด ล

ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก
ดีแต่พูด ทำจริง ๆ ไม่ได้
ลิ้นกระทบฟัน
ญาติพี่น้อง หรือผัวเมียทะเลาะกัน


หมวด ว

วัวลืมตีน
คนที่ได้ดีแล้วลืมตัว


วัวหายล้อมคอก
ของหายแล้วจึงคิดป้องกัน เกิดเรื่องแล้วจึงแก้ไข


หมวด ส

สอนหนังสือสังฆราช
สอนผู้มีความรู้ความสามารถอยู่แล้ว
สีซอให้ควายฟัง
สอนคนโง่ไม่รู้เรื่อง แนะนำคนโง่ไม่มีประโยชน์
เส้นผมบังภูเขา
เรื่องเล็กบังเรื่องใหญ่ , เรื่องง่ายคิดไม่ออกเห็นว่าเป็นเรื่องยาก
เสน่ห์ปลายจวัก
เสน่ห์ที่เกิดจากฝีมือปรุงอาหารให้โอชารส


หมวด ห

หนีเสือปะจระเข้
หนีภัยอันตรายอย่างหนึ่ง แล้วต้องพบกับอันตราย อีกอย่างหนึ่ง มักใช้เข้าคู่กับคำว่าต้นไม้ปะรังแตน

http://www.tlcthai.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น